วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สงครามโลกครั้งที่สอง (World War 2)




     สงครามโลกครั้งที่สอง (World War 2) 

    เป็นความขัดแย้งในวงกว้าง ครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่ในโลก เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) และดำเนินไปจนกระทั่งสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ได้ชื่อว่าเป็นสงครามที่มีขนาดใหญ่และทำให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก

     ต้นเหตุที่แท้จริงของสงครามครั้งนี้ ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญาแวร์ซาย ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ความเป็นชาตินิยม การแย่งชิงอำนาจและต้องการแบ่งปันโลกใหม่ของประเทศที่เจริญตามมาทีหลังและแสนยนิยม เช่นเดียวกับวันเริ่มต้นสงคราม ที่อาจเป็นไปได้ทั้งวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) ที่เยอรมันรุกรานโปแลนด์, วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ที่ญี่ปุ่นรุกรานจีน (วันเริ่มต้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2) หรือปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ที่ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย บางคนกล่าวว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งนี้เป็นข้อพิพาทเดียวกัน แต่แยกกันด้วย "การหยุดยิง"

     การต่อสู้เริ่มขึ้นตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก ยุโรปตะวันตกและตะวันออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกา ตะวันออกกลางมหาสมุทรแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน สงครามในยุโรปสิ้นสุดเมื่อเยอรมนียอมจำนนในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) แต่ในเอเชียยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน คาดว่ามีผู้เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้ราว 57 ล้านคน





     ในฝั่งยุโรปสงครามโลกครั้งที่สอง นั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำของเยอรมนีได้ประกาศสงครามกับโปแลนด์และสั่งเคลื่อนพลจำนวนมหาศาลบุกโปแลนด์ โดยใช้กลยุทธการบุกแบบสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg) ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 (1939) และสามารถยึดโปแลนด์ได้อย่างรวดเร็ว ขอบเขตของสงครามได้ขยายออกไปเมื่อเยอรมนีประกาศสงครามและทำการบุกนอร์เวย์ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และลักเซมเบิร์ก จนกระทั่งกองทัพเยอรมันสามารถยึดฝรั่งเศสได้สำเร็จ ทำให้เยอรมนีเป็นผู้ครอบครองยุโรปตะวันตกได้ทั้งหมด ยกเว้นเกาะบริเตนใหญ่ของสหราชอาณาจักร ที่ในตอนนี้เป็นเพียงชาติเดียวที่เผชิญหน้ากับนาซีเยอรมัน และเสี่ยงต่อการถูกบุกโดยเยอรมนีมากที่สุด แต่ก่อนที่จะทำการบุกเกาะอังกฤษ กองทัพเยอรมันพยายามที่จะทำลายกองทัพอากาศของสหราชอาณาจักรเสียก่อน เพื่อช่วงชิงความเหนือกว่าทางอากาศซึ่งจะทำให้การบุกเกาะอังกฤษง่ายยิ่งขึ้น และเปิดศึกแห่งบริเตนกับสหราชอาณาจักร

     ผลการรบที่ออกมากลับเป็นชัยชนะของสหราชอาณาจักรภายใต้การนำของวินสตัน เชอร์ชิลล์ ทำให้กองทัพอากาศนาซีอ่อนแอลงอย่างมากและเบนความสนใจ (และในภายหลัง เลิกล้ม) จากการยึดเกาะบริเตนไปยังการบุกสหภาพโซเวียตแทน เปิดโอกาสให้สหราชอาณาจักรได้ตั้งหลัก และผูกมิตรกับสหรัฐอเมริกา (ที่ในตอนนี้เป็นปรปักษ์กับประเทศฝ่ายอักษะทุกประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่น) และสหภาพโซเวียตที่ในขณะนี้ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก เมื่อกองทัพเยอรมันสามารถบุกทะลวงดินแดนโซเวียตได้อย่างรวดเร็ว แต่ท้ายที่สุดแล้วสามารถยับยั้งกองทัพเยอรมันไว้ได้ที่มอสโก และเริ่มทำการโจมตีสวนกลับ จนสามารถยึดดินแดนโซเวียตที่เยอรมนียึดมาได้แทบทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2486 (1943) เยอรมนีกลับตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงคราม และฝ่ายพันธมิตรที่มีกำลังแข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มคิดแผนการที่จะตอบโต้การรุกรานของเยอรมนีด้วยการโจมตีส่วนใดส่วนหนึ่งของยุโรปตะวันตก ท้ายที่สุดในการประชุมที่เตหะราน ที่สามผู้นำหลัก (ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์จากสหรัฐอเมริกา นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์จากสหราชอาณาจักร และโจเซฟ สตาลินจากสหภาพโซเวียต) ของฝ่ายสัมพันธมิตรตกลงที่จะเปิดการโจมตีที่หัวหาดนอร์มองดีฝรั่งเศส ตามข้อเรียกร้องของโซเวียตขอให้เปิดแนวรบที่สอง เพื่อลดความกดดันแนวรบทางตะวันออก และเพื่อบีบให้ฝ่ายอักษะต้องกระจายกำลังออกไปทั้งแนวรบตะวันออกและตะวันตก

     ผลจากการรบ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ และสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก็ได้กล่ายเป็นอภิมหาอำนาจในเวทีสงครามเย็นครั้งใหม่  และมีการก่อตั้งสหประชาชาติขึ้นมาด้วยหวังว่าจะสามารถดำรงไว้ซึ่งสันติภาพได้




                                                กองทัพเยอรมันในปี 1935 การชุมนุมที่นูเรมเบริ์ก


     สาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากประเทศเยอรมนีไม่พอใจสนธิสัญญาแวร์ซาย ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่เยอรมนีต้องลงนามเมื่อแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งเป็นการจำกัดการทหารและการขยายดินแดนของเยอรมันนี และความจำเป็นในกาต้องชดใช้ค่าปฏิกรณ์สงครามเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงการปฏิวัติในรัสเซียซึ่งเปล่ยนเป็นสหภาพโซเวียตภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ซึ่งในขณะนีอยู่ในการปกครองของโจเซฟ สตาลิน ในอิตาลี เบนิโต มุสโสลินีกำลังพยายามใช้อำนาจฟัสซิสต์ในการพยายามสร้างจักรวรรดิอิตาลี ในประเทศจีนพลพรรคก๊กมินตั๋งเริ่มการรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อต่อต้านเหล่าขุนศึกซึ่งลุกขั้นมาก่อกบฎในระหว่างทศวรรษ 1920 แต่ถูกนำไปเกี่ยวพันในสงครามกลางเมืองกับพันธมิตรพลพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในปี 1931 การเพิ่มจำนวนอย่างมากของทหารญี่ปุ่นซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากในจีน และเป็นการเตรียมพร้อมการทำสงครามในการปกครองทวีปเอเชีย และเริ่มรุกรานแมนจูเรีย ทั้งสองสู้กันเล็กน้อยจนกระทั่งถึงการพักรบตานกูในปี 1933

     ในปี 1934 พลพรรคลัทธินาซี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ขึ้นสู่อำนาจในเยอรมันนีและเริ่มการติดอาวุธใหม่ให้กับตัวเอง เหตุการณ์นี้สร้างความกังวลให้แก่ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรมาก เนื่องจากประเทศเหล่านี้สูญเสียเป็นจำนวนมากจากสงครามครั้งที่แล้ว เช่นเดียวกันกับอิตาลี เพื่อป้องกันสงคราม ฝรั่งเศสจึงยอมให้อิตาลียื่นมือเข้าไปในเอธิโอเปีย ซึ่งอิตาลีมีความปรารถนาที่จะยึดครอง เหตุการณ์เริ่มเลวร้ายยิ่งขึ้นเมื่อปี 1935 ซาร์แลนด์ถูกยุบรวมเข้ากับเยอรัมนนีและฮิตเลอร์กอ่ได้ฉีกสนธิสัญญาแวร์ซาย ทำให้การใช้กำลังแพร่กระจายไปเร็วขึ้น ฝรั่งเศสจึงพยายามก่อตั้งแนวสเตรียซา ซึ่งจะเป็นการรวมฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร อิตาลีและเยอรมันนีเข้าด้วยกัน ทางด้านสหภาพโซเวียต ก็ได้เป็นห่วงเกี่ยวกับเป้าหมายของเยอรมันนีในการยึดครองเอาดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลของยุโรปตะวันออก จึงลงเอยกันที่การทำสัญญาช่วยเหลือกันทั้งสองฝ่ายกับฝรั่งเศส

     การสร้างสนธิสัญญาเหล่านี้ไม่ค่อยมีค่าอะไรมากนัก สนธิสัญญาฝรั่งเศส-โซเวียตมีความจำเป็นต้องผ่านข้าราชการของสันนิบาตชาติก่อนจึงจะสามารถนำให้มีผลได้ และในเดือนมิถุนายนปี 1935 สหราชอาณาจักรได้สนธิสัญญาการเดินเรืออย่างอิสระกับเยอรมันนี ส่วนชาติที่โดดเดี่ยวอย่างสหรัฐอเมริกา ก็มีความเป็นกังวลกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในยุโรปและเอเชีย จึงได้ผ่านนโยบายความเป็นกลางในเดือนสิงหาคม และในเดือนตุลาคมอิตาลีก็ได้รุกรานเอธิโอเปีย จึงได้ถูกโดดเดี่ยวทางการเมือง เยอรมันนีเป็นเพียงชาติเดียวที่สนับสนุนการรุกรานของอิตาลี พันธมิตรได้ผลักความรับผิดชอบกัน ด้วยอิตาลีต้องลบล้างความคิดถึงเป้าหมายในการยึดเอาออสเตรียมาเป็นรัฐบริวารของเยอรมันนี

     ในเดือนมีนาคม 1936 ฮิตเลอร์ก็ได้ส่งกองทัพไปยึดครองไรน์แลนด์ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนสนธิสัญญาแวร์ซายและสนธิสัญญาโลคาร์โนโดยตรง ซึ่งก็ได้รับการตอบสนองน้อยมากจากกลุ่มประเทศตะวันตก เมื่อสงครามกลางเมืองสเปนปะทุออกมากในเดือนกรกฎาคม ฮิตเลอร์และมุสโสลินีได้ให้ความสนับสนุนแก่จอมพลฟัสซิสต์นิยม ฟรานซิสโก ฟรานโก ในการกระทำของเขาเพื่อต่อต้าน สาธารณรัฐสเปน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคอมมิวนิสต์โซเวียต ทั้งสองฝ่ายก็ได้งัดเอากลวิธีใหม่และอาวุธใหม่ๆ ออกมาใช้


     ในเดือนตุลาคม เยอรมันนีและอิตาลีได้ร่วมมือกันกอ่ตั้ง แกนโรม-เบอร์ลิน และในเดือนต่อมาเยอรมันนีและญี่ปุ่น-ผูซึ่งคิดว่าคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างย่งสหภาพโซเวียต- จะเป็นภัยต่อประเทศของตน จึงได้ทำสนธิสัญญาต่อต้านโคมินเทริ์น ซึ่งอิตาลีก็ได้เข้าร่วมด้วยในปีต่อมา ในประเทศจีน พลพรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์ก็ได้ร่วมมือกันสร้างแนวร่วมเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นผู้รุกราน
ยุทธการที่นอร์มังดี คือการรบระหว่างกองทัพฝ่ายอักษะนาซี

เหตุการณ์สำคัญ

     เยอรมนีที่ประจำการอยู่ในยุโรปตะวันตก กับกองกำลังสัมพันธมิตรกว่า 3 ล้านนายที่ทำการบุกข้ามช่องแคบอังกฤษมาจากฐานที่ตั้งชั่วคราวในแนวรบที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ (ส่วนใหญ่มาจากเมืองพอร์ทสมัท) มายังหัวหาดนอร์มองดีในฝรั่งเศสที่กองทัพเยอรมันยึดมาได้ ภายใต้ชื่อแผนปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overlord) เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2487 โดยทหารสัมพันธมิตรเรียกวันนี้ว่า ดี-เดย์ (D-Day)
กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นประกอบไปด้วยทหารจากหลายประเทศด้วยกันได้แก่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคนาดา นอกจากนี้ทหารจากกองกำลังฝรั่งเศสเสรีและโปแลนด์ก็ได้รวมเข้ากับกองกำลังสัมพันธมิตรด้วย เมื่อทหารที่ทำการจู่โจมจากเกาะอังกฤษเข้าสู่ฝรั่งเศสได้แล้ว ยังมีกองทหารจากหลายประเทศเข้ามาร่วมกับพันธมิตรหลังจากนั้นด้วย ได้แก่ เบลเยียม เชโกสโลวาเกีย กรีซ เนเธอร์แลนด์ และนอร์เวย์
การบุกหัวหาดนอร์มองดีอย่างแท้จริงเริ่มต้นตั้งแต่คืนวันที่ 5 มิถุนายน โดยมีเครื่องบินทิ้งพลร่มและเครื่องร่อนลงมา และกองทัพอากาศฝ่ายพันธมิตรเริ่มเปิดการทิ้งระเบิดใส่กองทัพเยอรมันที่ประจำอยู่ตามเมืองริมชายฝั่งของฝรั่งเศส รวมถึงการยิงปืนใหญ่จากเรือรบพันธมิตร จนกระทั่งการบุกข้ามทะเลของกองกำลังหลักเริ่มต้นขึ้นในตอนเช้าของวันที่ 6 และดำเนินต่อไปอีก 2 เดือน จนถึงการปลดปล่อยปารีสในตอนปลายของเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2487 ที่ปิดฉากการรบนี้ลง
แผนการครั้งนี้ ถูกกำหนดวันไว้คือวันที่ 5 มิถุนายน โดยจะมีพลร่มลงไปหลังแนวก่อน คือวันที่ 4 มิถุนายน แต่สภาพอากาศเลวร้าย จึงเลื่อนมาอีก 1 วัน เมื่อถึงเที่ยงคืนวันที่ 5 มิถุนายน พลร่ม และเครื่องร่อนได้ลงหลังแนวรบ เพื่อตัดกำลัง และ คุมสะพาน ไม่ให้พวกเยอรมันที่อยู่หลังแนวรบ ส่งกำลังมาหน้าแนวได้ทัน ได้มีการทิ้งหุ่นพลร่มปลอมในบางจุดด้วย
เมื่อเช้าวันที่ 6 มิถุนายน กองทัพเรืองขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ยาตราเข้ามาในอ่าวนอร์มังดี บนหาดมีเครื่องกีดขวางมากมาย ทำให้แม้แต่เรือเล็กก็ไม่สามารถเข้าหาตัวหาดได้มากนัก เมื่อขึ้นไปบนหาด ถูกต่อต้านโดยปืนใหญ่ ปืนกลหนัก เครื่องยิงลูกระเบิด และปืนต่อต้านรถถังเป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีรั้วลวดหนาม คูดักรถถัง และกับระเบิดบนหาด ทำให้เป็นการเสียชีวิตทหารมากมายก่อนจะยึดหัวหาดได้ โดยเฉพาะที่หาดโอมาฮ่า
แผนการของนายพลรอมเมล คือต้องการสร้างเครื่องกีดขวางและเครื่องป้องกันหาดต่างๆบนหาดให้ได้มากที่สุด เพราะเมื่อหาดถูกบุก หาดจะถูกป้องกันพวกพันธมิตร จะต้องตายคาหาด แต่ฮิตเลอร์ไม่เห็นด้วย ท่านเห็นว่าการตั้งรับควรจะอยู่หลังแนวหาดมากกว่า คือถ้าหาดถูกบุก ควรจะปล่อยให้พวกพันธมิตรเข้ามาในแผ่นดินยุโรบก่อน แล้วค่อยจัดการบนบกหลังแนวดีกว่า ด้วยความคิดของฮิตเลอร์นี้เอง นอร์มังดีจึงแตก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น