วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

เครื่องบินรบของกองทัพอากาศ

ประวัติและรายละเอียดของ JAS 39 gripen

    เครื่องบินขับไล่-โจมตีอเนกประสงค์แบบ JAS-39 Gripen ออกแบบและผลิตขึ้นโดยบริษัทอากาศยานเก่าแก่ของสวีเดน นั่นคือ บริษัท SAAB เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบเก่า J35 Darken และ AJS 37 Viggen ของกองทัพอากาศสวีเดน JAS-39 Gripen เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2530 เป็นวันครบรอบ 50 ปีของบริษัท SAAB และขึ้นทำการบินทดสอบเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2531 เริ่มเข้าประจำการในกองทัพอากาศสวีเดนในปี 2540 ปัจจุบันนี้เครื่องบินรบ JAS-39 Gripen ได้รับการยอมรับในสมรรถนะอันโ่ดดเด่นโดยกองทัพอากาศทั่วโลกเช่นแอฟริกาใต้ ได้ทำการสั่งซื้อเครื่องบินรบรุ่นนี้เป็นจำนวนถึง 26ลำ ประกอบไปด้วยเครื่องที่นั่งเดี่ยว 17 ลำ เครื่องสองที่นั่งอีก9 ลำ ไทย กองทัพอากาศไทยสั่งซื้อจำนวน 6 ลำในล็อตแรก และจะสั่งซื้อในล็อตที่สองอีก 6 ลำ โดยจะทำการส่งมอบในปี พ.ศ. 2554 ท.อ.ฮังการี เช่าซื้อจำนวน 14 ลำในปี พ.ศ. 2544 โดยเมื่อหมดสัญญาเช่า 10 ปีแล้วเครื่องบินจะเป็นกรรมสิทธิของฮังการีโดยถาวร ส่วนสาธารณรัฐเช็กก็ได้ทำการจัดซื้อ JAS-39 Gripen จำนวน14 ลำเช่นกัน นอกจากนั้นยังมีสถาบันนักบินทดสอบของอังกฤษ (Empire Test Pilots School )ได้ทำการสั่งซื้อเครื่อง JAS-39 Gripen เพื่อใช้ในการฝึกบินให้กับนักบินใหม่ของสถาบันอีกด้วย ก่อนหน้านั้นทางกองทัพอากาศไทยได้ทำการจัดส่งนักบินและวิศวกรการบินที่ เชี่ยวชาญของกองทัพเข้าทำการฝึกบินและทดสอบสมรรถนะของตัวเครื่องJAS-39 Gripen ที่สถาบันของอังกฤษแห่งนี้มาแล้ว 





JAS-39 Gripen 

   คือเครื่องบินรบรุ่นล่าสุดในยุคปัจจุบันที่มีสมรรถนะเหนือกว่า F16 หรือ Mirage 2000 อยู่เล็กน้อย ถูกออกแบบให้สามารถบินขึ้นเพื่อสกัดกั้นการโจมตีในทุกรูปแบบและทุกสภาพอากาศ ตรงตามความต้องการของกองทัพอากาศไทยที่ต้องการเครื่องบินขับไล่โจมตีที่มี ระบบการบินและระบบอาวุธที่ทันสมัย มีความน่าเชื่อถือในขีดความสามาถของการบินรบขั้นสูง มีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่ำ มีการพัฒนาเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางวัศดุศาสตร์ มีระบบคอมพิวเตอร์แบบรวมการประมวลผล รวมไปถึงมีหลักอากาศพลศาสตร์ที่มีประสิทธิ์ภาพสูงในการเข้าต่อตีทั้งกับ เครื่องบินรบฝ่ายตรงข้าม หรือโจมตีกองกำลังทั้งทางภาคพื้นดินและทางทะเล 






การปฎิบัติการการบินของภารกิจอันหลากหลายในเครื่องบินรบยุคใหม่อย่าง JAS-39 Gripen มีความอ่อนตัวและเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศแบบเขตร้อนของไทยที่มีทั้งภูเขา ป่าดิบชื้น ที่ราบลุ่มและชายฝั่งทะเลที่มีความยาวมากว่า 2000 กิโลเมตร JAS-39 Gripen เป็นเครื่องบินรบที่ต้องการอุปกรณ์สนับสนุนในการขึ้นบินน้อยมาก สามารถทำการร่อนลงหรือบินขึ้นบนถนนหลวงทั่วไปโดยใช้ทางวิ่งไม่มากนั้ก จึงทำให้เป็นเครื่องบินที่มีความคล่องตัวสูงมาก JAS-39 Gripen ทุกลำติดตั้งระบบเครือข่ายข่าวสารทางยุทธวิธี (TIDLS) ที่มีความก้าวหน้าที่สุดแบบหนึ่งของโลก ระบบดังกล่าวสามารถถ่ายโอน ส่งต่อข้อมูลระหว่างฝูงบินได้ทันทีในระหว่างทำภารกิจ สามารถเปลี่ยนเป้าหมายที่มีภัยคุกคามสูงกว่า และรับ-ส่งข้อมูลจากเครื่องบินลำอื่นหรือจากกองบัญชาการทางภาคพื้นดิน ระบบจะทำการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงแผนการบินได้ทันทีในระหว่างปฎิบัติ ภารกิจโดยการบินเกาะหมู่เครื่องJAS-39 Gripen สามารถเปิดเรดาร์เดินอากาศเพียงเครื่องเดียวในหมู่บินทั้งหมดเพื่อลดการถูก ตรวจจับจากฝ่ายตรงข้าม โดยสามารถส่งต่อข้อมูลเป้าหมายต่างๆของข้าศึกให้กับเครื่องบินอื่นๆในหมู่ บินได้อย่างอัตโนมัต 





   JAS-39 Gripen เป็นเครื่องบินขับไล่-โจมตีที่มีขนาดเล็ก ยากแก่การตรวจจับและมองเห็นเนื่องจากมีพื้นที่หน้าตัดน้อย จึงส่งผลให้การสะท้อนต่อคลื่นความถี่ของเรดาร์ตรวจจับลดลง ตัวเครื่องมีการแผ่รังสีอินฟาเรดต่ำ ปีกเล็กแบบสามเหลี่ยมที่ติดอยู่ใต้ค็อกพิสนักบินหรือปีกแบบ Delta Canard ทำให้ตัวเครื่องสามารถทำการบินในท่าทางที่เครื่องบินรบรุ่นอื่นไม่อาจบินได้ เมื่อใช้ความเร็วสูง เทียบกับขนาดและน้ำหนักตัวแล้ว JAS-39 Gripen เป็นหนึ่งในเครื่องบินรบที่มีขีดความสามารถในการบรรทุกอาวุธได้สูงมาก ทำให้เลือกใช้อาวุธที่มีความเหมาะสมกับภารกิจ ระบบเรดาร์ตรวจจับเครื่องบินข้าศึกเป็นของบริษัท Ericsson รุ่น PS-O5 A แบบใหม่ล่าสุดซึ่งมีขีดความสามารถในการตรวจจับเครื่องบินฝ่ายตรงข้ามในระยะ ไกลถึง 120 กิโลเมตร ระบบอาวุธนำวิถีรุ่นใหม่เช่น AIM 120 Amraam สามารถติดตั้งใต้ปีกของ JAS-39 Gripenได้ในทุกตำแหน่ง นอกจากนั้น JAS-39 Gripenยังทำการตรวจจับเป้าหมายทั้งทางบก ทางอากาศและทางทะเลโดยนักบินสามารถปรับเปลี่ยนโหมดไปค้นหาเป้าหมายต่างๆด้วย เรดาร์ที่มีความแตกต่างกันได้ถึงสี่ตำแหน่ง 





JAS-39 Gripen ติดตั้งระบบอาวุธประจำกายที่มีอานุภาพร้ายแรงได้แก่ ปืนใหญ่อากาศขนาด 27 มิลลิเมตรของ Mauser รุ่น BK27 โดยที่ใต้ปีกทั้งสองข้างสามารถติดตั้วจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศ (จรวดต่อต้านอากาศยาน)แบบ RB71 ที่พัฒนาขึ้นโดยกองทัพอากาศของสวีเดน จรวดต่อต้านอากาศยานแบบ AIM9 Sidewinder, จรวดนำวิถี AIM 120 Amraam, AGM65 Maverickของสหรัฐฯ จรวดต่อต้านเรือผิวน้ำ RBS15 ขอวงสวีเดน จรวดนำวิถีแบบ IRIS-T ของเยอรมันและกลุ่มประเทศในสนธิสัญญานาโต้ ทั้งยังสามารถติดตั้งลูกระเบิดโจมตีขนาด 250-2000 ปอนด์ และกระเปาะชี้เป้าอีเลคโทรนิคแบบ Litening 






เครื่องยนต์ ของ JAS-39 Gripen ใช้เครื่องเทอร์โบแฟนของ Volvo Aero รุ่น RM12 ที่พัฒนาขึ้นจากเครื่องยนต์รุ่น GE F404 ให้แรงขับสูงสุดถึง 18,000 ปอนด์ (80.5 กิโลนิวตัน)เมื่อจุดสันดาปท้าย หรือ 12,000 ปอนด์ เมื่อไม่ใช้สันดาปท้าย อัตราแรงดันอยู่ที่ 27:5:1 น้ำหนักตัวเครื่องยนต์ 1055 กิโลกรัม ความยาวเครื่องยนต์ 4.04 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.884 เมตร 

JAS-39 Gripen สามารถใช้งานได้อีกอย่างน้อย 30 ปี โดยจะมีการพัฒนาระบบการบินและระบบอาวุธควบคู่กันไปในการร่วมมือระหว่างประเทศ ในกลุ่มสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา เช่นการพัฒนาให้สามารถติดตั้งระบบลิงค์แบบ Link 16 รุ่นล่าสุดของสหรัฐและกองกำลังทางอากาศของนาโต้ ซึ่งเป็นระบบเรดาร์ลิ้งค์มาตฐานที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน การปรับปรุงระบบเรดาร์ PS 05A ให้เป็นเรดาร์ระบบอีเลคทริคอลลีสสแกน อาร์เรย์ (Electronically Scanned Array : AESA) พัฒนาระบบติดตามและล็อคเป้าด้วยลำแสงอินฟาเรดแบบ Otis และติดตั้งระบบศูนย์เล็งอาวุธในหมวกนักบิน นอกจากนั้นทางกองทัพอากาศไทยจะได้รับการตอบแทนในลักษณะความร่วมมือทวิภาคี 

ประกอบด้วย 

- การถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศและกองทัพไทยในสาขาต่างๆ ที่ฝ่ายไทยต้องการ
- ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทจำนวน 92 ทุน ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของสวีเดน ได้แก่ Royal Institute of Technology Stockholm, Chalmers Technical University in Gothenburg และ Linkping University ระหว่างปี พศ 2552-2555
- ความร่วมมือทางอุตสาหกรรม ในด้านวิชาการ การลงทุน การผลิตสินค้า และการบริการ ที่จะกำหนดรายละเอียดหลังจากลงนามในข้อตกลงการซื้อขายต่อไป 




ห้องนักบินของ JAS-39 Gripen ติดตั้งจอแสดงผลแบบมัลติฟังชั่นขนาด 6x8 นิ้วถึงสามจอ ติดตั้งจอภาพมุมกว้าง Head Up Display : HUD เพื่อะเพิ่มทัศนวิสัยและมุมมองที่กว้างขึ้นให้กับนักบินโดยไม่มีผลกระทบต่อ ความเข้มของแสงจากภายนอก คันเร่งและคันบังคับแบบ Hand On Throttle And Stick : HOTAS เพื่อช่วยให้นักบินมีภาระในการปฎิบัติการระหว่างการบินรบลดน้อยลง 





JAS-39 Gripen Specifications

ประเภท................................เครื่องบินขับไล่-โจมตีแบบอเนกประสงค์
เครื่องยนต์............................RM12 ของ Volvo พื้นฐานจากเครื่องยนต์ F-404 ของเจเนอรัล อิเล็กทริค
แรงขับสูงสุด.........................18,000 ปอนด์ เมื่อเปิดสันดาปท้าย
ระบบเรดาร์............................PS-05/A ของอิริคสัน
ความยาวลำตัว......................14.1 เมตร
สูง.......................................8.4 เมตร
น้ำหนักตัวเปล่า.....................5,700 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด................14,000 กิโลกรัม
น้ำหนักบรรทุก.......................8,000 กิโลกรัม
ปริมาณเชื้อเพลิงภายในลำตัว...3000 ลิตร
พิสัยบิน (บินไกล)..................3,000 กิโลเมตร
เพดานบินปฎิบัติการ...............15,000 เมตร
ความเร็วสูงสุด.......................มัค 2.0
ภาระกรรมสูงสุด.....................-3 - +10 จี
ระยะทางวิ่งขึ้น.......................400 เมตร
ระยะทางร่อนลง.....................600 เมตร 


รถถังแห่งกองทัพบก

รถถังเป็นอาวุธที่ทรงอานุภาพอย่างหนึ่งครับ จุดเด่นของมันคือมีอาวุธจนาดหนัก เคลื่อนที่ได้เร็ว ติดเกราะหนา ซึ่งเราสามารถใช้รถถังเข้าโจมตีรถถังของอีกฝ่ายหรือสนับสนุนทหารราบได้เป็นอย่างดี วันนี้ จะมาว่าด้วยรถถังที่ไทยมีประจำการอยู่ครับ


M41 (ประจำการ พ.ศ. 2505)




คุณปี M41 นี้อยู่คู่กับกองทัพบกไทยมาเกือบ 50 ปี สร้างชื่อในสงครามเกาหลี M41 ได้รับการจัดหาจากกองทัพบกไทยจำนวนรวม 200 คนในช่วงสงครามเย็นที่เรามีปัญหากับเวียดนามครับ เนื่องจากมันมีขนาดที่เล็กพอดี แต่มีประสิทธิภาพในการรบที่สูง M41 ติดปืนใหญ่รถถังขนาด 76 mm. ซึ่งในปัจจุบันก้ยังมีอีกบางประเทศที่ประจำการด้วย M41 อยู่นะครับ แต่ส่วนใหญ่ได้รับการ upgrade ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ติดเกราะหนาขึ้น แต่ข้อเสียของ M41 ก็คือมันเป็นเครื่องยนต์เบนซินครับ กินน้ำมันมากและเสียงดังมากครับ


FV 101 CVR(T) Scorpion (ประจำการ พ.ศ. 2521)




Scorpion เป็นรถถังอังกฤษครับ ตอนจัดซื้อก็ถูกวิจารณ์อย่างมากว่าจะเข้ากับระบบเราที่เป็นอเมริกันได้หรือเปล่า แต่ไป ๆ มา ๆ Scorpion ก็มีส่วนร่วมในหลาย ๆ สมรภูมิทำเอาข้าศึกเละตุ้มเปะมาแล้ว Scorpion ติดปืนขนาด ที่ดูรูปร่างแล้วตลก ๆ (แต่คนโดนยิงตลกไม่ออก) ที่จริงเค้าจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของรถประเภท "รถรบลาดตระเวนสายพาน" หรือ Combat Vehicle Reconnaissance (Tracked): (CVR(T)) Scorpion ติดปืนขนาด 76 mm. ครับ ไทยมีประจำการประมาณ 150 คัน


M48A5 (ประจำการ พ.ศ. 2522)




หลังจากเราจัดหา M41 มาได้ซักพัก และหลังจากจัดหา Scorpion ได้ปีเดียว กองทัพบกก็จัดซื้อ M48A5 เข้าประจำการครับ M48A5 มีความแม่นยำสูง โดยมีอัตราการยิงถูกในนัดแรกสูงที่สุดในสมัยนั้น M48A5 มีน้ำหนัก 52 ตัน ติดปืนใหญ่ขนาด 105 mm. เกราะหนาสุงสุดที่ด้านหน้า 120 mm. ทบ.ไทยมีประจำการ 105 คันครับ


Type-69 II (ประจำการ พ.ศ. 2530)






Type-69 II นั้นเราจัดหาจากจีนในช่วงที่ภัยคุกคามจากเวียดนามพุ่งสูงครับ ช่วงนั้นเราเปิดสัมพันธทางการฑูตกับจีน และขอให้หยุดสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (เวียดนามตอนนั้นเป็นสายโซเวียต) ประกอบกับเราต้องการจัดซื้อรถถังอย่างเร่งด่วนที่สุด เราจึงขอซื้อรถถัง Type-69 II มาจากจีน จีนก็ขายให้ราคาถูกแสนถูก (ประมาณ 5% - 10% ของราคาจริง) แต่เป็นรถถังที่เคยประจำการในจีนมาบ้างแล้ว ซึ่งการที่เราได้รับสุดยอดรถถังในกองทัพปลดปล่อยในขณะนั้นก็ถือเป็นการส่งสัญญาณที่ดีในการเป็นพันธมิตรระหว่างไทยและจีน

Type-69 II เป้นรุ่นปรับปรุงมาจาก Type-69 ธรรมดาครับ (ซึ่งจีนก๊อปมาจาก T-55 ของโซเวียตอีกทีนึง) รุ่น II นี้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 100 mm. มีระบบ stabilizer ทั้งแนวตั้งและแนวนอนเพื่อรักษาระดับของปืน แถมระบบเล็งด้วยเลเซอร์บนตัวปืนอีก สำหรับ Type-69 II ของไทยนั้นติดตั้งปืน 12.7 mm Browning ของสหรัฐแทน 12.7 ของจีนครับ

Type-69 II ทั้ง 100 กว่าคันเคยมีข่าวเวลาที่มืดมนอยู่ช่วงหนึ่งครับ คือวิ่งไม่ได้เลยซักคัน แต่ช่วงหลังประมาณปี 46 -47 (จำปีไม่ได้) ก็มีข่าวว่าจีนก็รับรถถัง (น่าจะ) ส่วนหนึ่งไปซ่อมคืนสภาพให้เองในมูลค่า 10 ล้านเหรียญแบบเราไม่ต้องจ่ายซักกะบาท ฟรีครับงานนี้


Commando Stingray (ประจำการ พ.ศ. 2532)





เราคงจะไปหา Stingray ที่ประเทศอื่นไม่ได้ เพราะรถถังชนิดนี้มีประจำการที่ประเทศเราประเทศเดียว (แม้แต่อเมริกาผู้ผลิตก็ไม่ได้ประจำการ) เพราะบริษัทผู้ผลิตประสบความสำเร็จในการขายให้เราแค่ประเทศเดียว 100 กว่าคันนิด ๆ

Stingray ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 105 mm. พร้อมด้วยระบบเล็งเป้าด้วยเลเซอร์ ระบบ stabilizer และอีกหลายอย่าง ด้วยรูปร่างที่สวยงาม เจ้านี้แหละสุดยอด


M60A1/A3 TTS (A1 ประจำการ พ.ศ. 2534 ,A3 ประจำการ พ.ศ. 2539)





มาถึงพระเอกของเรา M60 ครับ

M60 ที่เราจัดหาเป็นมือสองจากสหรัฐครับ ผู้รู้หลายท่านทั้งในและต่างประเทศให้ความเห็นว่า M60 เหมาะสมที่สุดในภูมิประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ดินค่อนข้างอ่อน ถ้าเรารถถังหนัก ๆ และมีแรงกดต่อพื้นที่มาก ๆ มีหวังติดหล่ม ทำให้ขาดความคล่องตัวไปเยอะครับ

M60 ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 105 mm. โดย M60A3 จะพิเศษกว่าตัว A1 ก็ตรงที่มันมี Tank thermal Sights ฉะนั้น บางทีเราก็เรียก A3 ของเราว่า TTS เช่นกัน TTS ซึ่งเป็นระบบสร้างภาพจากความร้อนครับ

ไทยมีประจำการรวม ๆ กันแล้วประมาณ 178 คันครับ






เนื่องด้วยอายุอานามของมันที่ปาเข้าไปจะ 50 แล้ว (หมายความว่าถ้าคุณเข้าทำงานพร้อมมันเข้าประจำการ คุณก็เกษียรแล้ว ในขณะที่มันยังทำงานอยู่) ทำให้หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า M41 จะไปทำอะไรใครเค้าได้ เรื่องนี้มีการพูดกันในหลาย ๆ วาระครับ สรุปจากความเห็นของผู้รู้ในเว็บบอร์ด Wing21 ได้ความว่า มันคงจะไปต่อกรกับรถถังสมัยใหม่ไม่ไหว แต่มันจะทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยมถ้านำไปใช้สนับสนุนทหารราบ เพราะลองนึกภาพการเข้าโจมตีด้วยปืนขนาด 76 mm. ต่อทหารราบสิครับ มันจะสยองขนาดไหน

คุณ CoffeeMix จาก Wing21 พูดไว้น่าสนใจมากว่า "อาวุธอะไร ถ้ามันยังยิงออก มันก็ยังมีคุณค่าทางยุทธการอยู่" และผมก็เห็นด้วยเต็มร้อยครับ เพียงแต่เราต้องปรับใช้ให้เหมาะสมเท่านั้นเอง


พอครับ ยังพออยู่ ไม่ลำบากลำบนอะไรขนาดนั้น รถถังอย่าง Stingray Type-69 II หรือ M60 ยังมีดีที่จะจัดการรถถังสมัยใหม่ได้อยู่ครับ ทั้งนี้ ทบ.เองก็มีกำลังพยายามที่จะปรับปรุงรถถังในประจำการให้ทันสมัยเพิ่มมากขึ้นด้วยครับ

เรือรบกองทัพเรือ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เรือจักรีนฤเบศร


 
    เรือหลวงจักรีนฤเบศร ( HTMS Chakri Naruebet; ย่อ: CVH-911) เป็นเรือธงและเรือบรรทุกอากาศยานลำแรกและลำเดียวของราชนาวีไทย ประจำการในส่วนกำลังรบของกองทัพเรือ เป็นเรือที่ต่อขึ้นจากประเทศสเปน โดยนำแบบมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส (Principe de Asturias) ของกองทัพเรือสเปน โดยปรับปรุงระบบขับเคลื่อน ระบบควบคุมการบิน ระบบอาวุธ และลดระวางขับน้ำลงเหลือสองในสาม ขึ้นระวางประจำการเมื่อ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 ได้ใช้งานปฏิบัติภารกิจด้านยุทธการและช่วยเหลือภัยพิบัติตลอดน่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน


ประวัติ
   ในปี พ.ศ. 2532 ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ในอ่าวไทยบริเวณจังหวัดชุมพร กองทัพเรือได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ซึ่งทางกองทัพได้ใช้เรือและอากาศยานในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่ประสบปัญหาคือเรือขนาดใหญ่ที่สุดที่กองทัพเรือมีอยู่ขณะนั้นไม่สามารถทนสภาพทะเลได้ ทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยกระทำได้ด้วยความยากลำบาก การมีเรือขนาดใหญ่พร้อมอุปกรณ์ทันสมัยจะสามารถใช้ในการค้นหาและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลได้อย่างรวดเร็วและทันการ และหากว่ามีเฮลิคอปเตอร์ประจำการบนเรือจะช่วยขยายพื้นที่ในการลาดตระเวนและระยะเวลาในการปฏิบัติการในทะเลได้เป็นเวลานานและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กองทัพเรือจึงได้มีแนวความคิด ในการสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจตามความมุ่งหมาย
เดิมรัฐบาลไทยได้วางแผนจัดซื้อเรือบัญชาการสนับสนุนการยกพลขึ้นบก ขนาดระวาง 7,800 ตันจากบริษัทเบรเมอร์ วัลแคนของเยอรมนี แต่ได้ทำการยกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 และทำการจัดซื้อใหม่จากบริษัทบาซาน ประเทศสเปน ซึ่งเป็นผู้ออกแบบและต่อเรือปรินซีเปเดอัสตูเรียส เรือธงของกองทัพเรือสเปนในขณะนั้น คณะรัฐมนตรีของไทยได้มีมติเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535 อนุมัติให้กองทัพเรือว่าจ้างสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล ลงนามโดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลสเปนในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2535 เป็นเงิน 7,100 ล้านบาท
เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เริ่มสร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 และมีการวางกระดูกงูในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2539 โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จไปทำพิธี ได้มีการทดลองแล่นเรือตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2539-เดือนมกราคม พ.ศ. 2540 ร่วมกับกองทัพเรือสเปนที่โรต้า (Rota) ประเทศสเปน รับมอบเรือและขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 โดยมีพลเรือเอก วิจิตร ชำนาญการณ์ เป็นผู้รับมอบ เรือได้รับหมายเลข 911 และเดินทางถึงประเทศไทยในต้นเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เรือได้เข้าประจำการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทรงเจิมเรือหลวงจักรีนฤเบศรเพื่อความเป็นสิริมงคล
กองทัพเรือได้ขอพระราชทานชื่อเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทัพเรือและเป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพลประจำเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเรือหลวงลำนี้ว่า เรือหลวงจักรีนฤเบศร แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี และใช้คำขวัญว่า ครองเวหา ครองนที จักรีนฤเบศร
เรือหลวงจักรีนฤเบศรขึ้นระวางประจำการสังกัดกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ โดยมีนาวาเอกสุรศักดิ์ พุ่มพวง เป็นผู้บังคับการเรือ ปัจจุบันมีนาวาเอกอนิรุธ สวัสดี เป็นผู้บังคับการเรือ


ลักษณะจำเพาะ

   เรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นเรือบรรทุกอากาศยานขนาดเล็กที่สุดในโลก นำแบบแผนมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส ของกองทัพเรือสเปนซึ่งพัฒนามาจากแบบแผนเรือควบคุมทะเล (Sea Control Ship - SCS) ของกองทัพเรือสหรัฐ โดยลดระวางขับน้ำลง มีระวางขับน้ำเต็มที่ 11,544 ตัน มีความยาวตลอดลำ 182.6 เมตร ความยาวที่แนวน้ำ 164.1 เมตร ความกว้างกลางลำที่แนวน้ำ 22.5 เมตร ความกว้างดาดฟ้าบิน 30.5 เมตร ความสูงถึงดาดฟ้าบิน 18.5 เมตร ความสูงยอดเสา 42 เมตร และกินน้ำลึกเต็มที่ 6.2 เมตร ตัวเรือถึงฐานเรดาห์สร้างด้วยเหล็กเหนียว (Mild steel) พื้นดาดฟ้าบินสร้างด้วยเหล็กกล้าแรงดึงสูง (High Tensile Steel) และเสากระโดงเรือสร้างด้วยอะลูมิเนียมอัลลอยด์ กำลังพลประจำเรือประกอบด้วยนายทหาร 42 นาย พันจ่า 69 นาย จ่า 230 นาย พลทหาร 110 นาย และทหารประจำหน่วยบิน 146 นาย

เรือหลวงจักรีนฤเบศรขับเคลื่อนด้วยระบบเครื่องยนต์ผสมพลังงานดีเซลหรือแก๊ส (CODOG) แต่ละระบบเชื่อมต่อกับใบจักร 4 ใบ/พวงแบบปรับพิทช์ได้ ทั้งเครื่องยนต์ดีเซล Bazán-MTU 16V1163 TB83 ( 5,600 แรงม้าที่ความเร็วลาดตระเวน) และเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ GE LM2500 (22,125 แรงม้า ใช้เมื่อต้องการเร่งสู่ความเร็วสูงสุดในระยะเวลาสั้นๆ) มีจำนวนอย่างละ 2 เครื่องยนต์เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีความเร็วสูงสุด 27 นอต แม้ว่าเรือจะทำความเร็วได้ที่ 17.2 นอตเมื่อใช้เครื่องยนต์ดีเซลเพียงอย่างเดียว เรือมีระยะทำการ 10,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 12 นอตและ7,150 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16.5 นอต

อาวุธและอากาศยาน


ภาพเปรียบเทียบเรือหลวงจักรีนฤเบศร (ขวา) กับเรือปรินซีเปเดอัสตูเรียส (ซ้าย)
เรือหลวงจักรีนฤเบศรติดตั้งอาวุธปืน 20 มม. จำนวน 4 แท่นยิง และอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันตนเองระยะประชิดชนิดพื้นสู่อากาศแบบแซดเรล (SADRAL) 3 แท่นยิง ใช้ลูกอาวุธปล่อยเป็นจรวดนำวิถีมิสทราล (Mistral) ซึ่งเป็นแบบนำวิถีเข้าสู่เป้าด้วยตนเอง  อาวุธปล่อยนำวิถีถูกติดตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งระบบปล่อยอาวุธทางดิ่ง Mark 41 แบบ 8 ท่อยิงสำหรับยิงจรวดซีสแปร์โรว (Sea Sparrow) และระบบป้องกันระยะประชิดฟารังซ์ (Phalanx) อีก 4 แท่นยิง
เมื่อเข้าประจำการ เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้รับเครื่องฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ แฮริเออร์ เอวี-8เอส (ที่นั่งเดี่ยว) และ ทีเอวี-8เอส (สองที่นั่ง) มือสองจากกองทัพเรือสเปนเข้าประจำการจำนวน 9 ลำ ปัจจุบันประสบปัญหาการดูแลรักษาและขาดแคลนอะไหล่ ปลดประจำการหมดแล้วทั้ง 9 ลำ และยังมีเฮลิคอปเตอร์ซี ฮอร์ก เอส-70บี จำนวน 6 เครื่อง เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีความสามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ 14 ลำ เช่น ไซคอร์สกี ซี คิง, ไซคอร์สกี เอส-76 และ ซีเอช-47 ชีนุก หรือเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่ง 12 ลำ มีโรงเก็บขนาด 2,125 ตารางเมตรสามารถเก็บอากาศยานได้ 10 ลำ มีดาดฟ้าบินขนาด 174.6 กว้าง 27.5 เมตร และมีสถานีรับ-ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานีจ่ายกระแสไฟฟ้าไว้บริการแก่อากาศยานที่นำเครื่องจอดลงบนดาดฟ้า ซึ่งดาดฟ้าบินนี้สามารถรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์ได้ทุกประเภท โดยน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดระหว่าง 7,000-136,000 กิโลกรัม กรณีเป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น ชีนุก สามารถรับส่งได้ที่จุดรับ-ส่งที่ 4 เท่านั้น โดยการรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์นั้นสามารถรับ-ส่งได้ 5 เครื่องพร้อมกัน มีสกีจั๊ม 12° สำหรับให้เครื่องแฮริเออร์ขึ้นบิน มีลิฟท์สำหรับอากาศยาน 2 ตัวแต่ละตัวรับน้ำหนักได้ 20 ตัน และมีลิฟต์ลำเลียงสรรพาวุธอีก 2 ตัว

เรือหลวงอ่างทอง


HTMS Angthong 791.jpg




   เรือหลวงอ่างทอง (791) ( HTMS Angthong 791) เป็นเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ลำแรกของกองทัพเรือไทย สังกัดกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ และเป็นเรือในประจำการที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของของกองทัพเรือไทยในปัจจุบัน รองจาก เรือหลวงสิมิลัน และ เรือหลวงจักรีนฤเบศร



ประวัติ


   เรือหลวงอ่างทองหมายเลข 791 เป็นเรือหลวงอ่างทองลำที่ 3 ของไทย ซึ่งเรือหลวงอ่างทองลำแรกนั้น เดิมทีคือเรือพระที่นั่งมหาจักรีลำที่สอง และเรือหลวงอ่างทองลำที่สอง (711) คือเรือ USS LST-924 ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา

โครงการจัดหาเรือหลวงอ่างทองเข้าประจำการ เป็นไปตามแผนพัฒนากองทัพในระยะ 9 ปี โดยได้มีการลงนามในสัญญาจ้าง เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551 โดย พลเรือเอก สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้าง โดยกระทรวงกลาโหมได้อนุมัติให้กองทัพเรือจ้างสร้างเรือยกพลขึ้นบก เป็นเงิน 4,944 ล้านบาท

ภารกิจ

เรือหลวงอ่างทองนั้นได้ต่อขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในภารกิจช่วยเหลือประชาชน การบรรเทาสาธารณภัย ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล การปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก และ การขนส่งลำเลียงทางทะเล เป็นเรือบัญชาการและฐานปฏิบัติการในทะเล

เรือหลวงนเรศวร


HTMS Naresuan in Hong Kong.JPG

   เรือหลวงนเรศวร ( HTMS Naresuan), (FFG 421) เป็นเรือฟริเกตสังกัดกองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ  กองทัพเรือไทย ดัดแปลงมาจากเรือฟรีเกตไทป์ 053 ของจีน โดยความร่วมมือกันออกแบบระหว่างกองทัพเรือไทยกับจีน ต่อที่อู่ต่อเรือไชน่าสเตตท์ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ปล่อยเรือลงน้ำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2536 และเข้าประจำการในปี 15 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เรือหลวงนเรศวรมีเรือในชั้นเดียวกันอีกหนึ่งลำคือ เรือหลวงตากสิน

การปรับปรุง

ในปี ค.ศ. 2011 กองทัพเรือได้เลือกระบบ 9LV ของบริษัทซ๊าบ ประเทศสวีเดน ในการปรับปรุงระบบอำนวยการรบ ระบบตรวจการณ์ ระบบควบคุมการยิง และระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีของ ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน

เรือหลวงเจ้าพระยา


Htms chaophraya.jpg


   เรือหลวงเจ้าพระยา (HTMS Chao phraya) เป็นเรือฟริเกตในชั้นเจ้าพระยา หมายเลขเรือ 455 สังกัดหมวดเรือที่ 1 กองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ  ฐานทัพเรือสัตหีบ  ต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือหูต่ง ประเทศจีน โดยปรับปรุงแบบจากเรือฟริเกต ประเภท 053 HT (ชั้นเจียงหู III) ของจีน มีเรือในชั้นเดียวกันอีกสามลำคือ เรือหลวงบางปะกง, เรือหลวงกระบุรี , และเรือหลวงสายบุรี

เรือหลวงเจ้าพระยาลำปัจจุบันนี้ เป็นเรือหลวงลำที่สองที่ใช้ชื่อเจ้าพระยา โดยเรือลำแรกเป็นเรือสลุปในสมัย พ.ศ. 2466